วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

มาเที่ยวเมืองสุริทร์กันเถอะ



ประวัติความเป็นมา



ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ กษัตริย์องสุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกสำคัญแตกโรงหนีเข้าป่าทางเมืองพิมาย พระองค์จึงโปรดให้ทหารออกติดตาม จนกระทั่งถึงเขตที่ชุมชนชาวกูย (กวย) อาศัยอยู่ ชาวกวยกลุ่มนี้มีความชำนาญในการคล้องช้างและจัลช้างเป็นอย่างยิ่ง ในที่สุดก็สามารถติดตามช้างเผือกจนพบ และนำกลับสู่กรุงศรีอยุธยา ความดีความชอบในครั้งนั้นส่งผลให้หัวหน้าชาวกูยที่เป็นคณะติดตามช้าง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ พร้อมกับโปรดยกเมืองให้ และหนึ่งในหัวหน้าชาวกูยก็คือ "เชียงปุม" ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงสุรินทร์ภักดี" และต่อมา ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง" ผู้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดสุรินทร์ จากอดีตจนถึงปัจจุบันลูกหลานชาวกูยยังคงสืบทอดมรดกอันล้ำค่าจากบรรพบุรุษ นั่นคือการคล้องช้าง และการเลี้ยงช้างเสมือนหนึ่งสมาชิกในครอบครัว ทำให้ชาวกูยแห่งเมืองสุรินทร์ มีความผูกพันธ์แนบแน่นกับสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก นามว่า "ช้าง" เป็นเวลาช้านาน ปี 2498 ถือว่าเป็นปีแห่งการชุมนุมช้างของชาวกูยอย่างไม่ได้ตั้งใจก็ว่าได้ ซึ่งการชุมนุมช้างในครั้งนั้นเกิดจากข่าวที่ว่าจะมีเฮลิคอปเตอร์มาลงที่บ้านตากลาง ชาวบ้านจึงพากันไปดูโดยการใช้ช้างเป็นพาหนะในการเดินทาง พอมาถึงจุดที่เฮลิคอปเตอร์ลงจอด ปรากฏว่าช้างที่ไปรวมกันนั้นนับได้ 300 เชือก ทำให้คนที่มากับเฮลิคอปเตอร์ตกใจและแปลกใจมากกว่าชาวบ้านเสียอีก
เหตุการณ์ชุมนุมชุมนุมช้างครั้งนั้น ทำให้คนที่ทราบข่าวต่างพากันสนใจเป็นจำนวนมาก และในปี 2503 อำเภอท่าตูม ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้าง ได้มีการฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศ ซึ่งเป็นนายอำเภอในขณะนั้น ได้เชิญชวนให้ชาวกูยเลี้ยงช้างทั้งหลาย ได้นำช้างของตนออกมาจัดแสดงให้ ประชาชนได้ชมกัน เนื่องจากไม่สามารถไปคล้องช้างตามแนงชายแดนได้ด้วยปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ การแสดงในครั้งนั้น ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะมีคล้องช้างให้ดูแล้ว ยังมีขบวนแห่ช้าง การแข่งขันวิ่งช้าง และในกลางคืนก็มีมหรสพต่าง ๆ ซึ่งใครจะคาดคิดว่า จากงานเฉลิมฉลองของอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งทางภาคอีสาน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 จะกลายมาเป็นงานประเพณีของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลก
ภาพการชุมนุมช้างที่บ้านตากลาง เมื่อปี 2498 (ภาพ:นายพนัส ธรรมประทีป)




กิจกรรมภายในงาน




กิจกรรมงานช้างและกาชาดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 12-23 พฤศจิกายน 2547

1. กิจกรรมงานช้างและกาชาดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 12-23 พฤศจิกายน 2547 ณ สนามกีฬาศรีณรงค์ ในงานมีการจัดนิทรรศการ ของส่วนราชการและเอกชน โดยเน้นให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องช้างเรื่องการเกษตร ตามหลักนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนมีการจัดประกวดสินค้าทางการเกษตร ของดีเมืองสุรินทร์ สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งการแสดงของศิลปินที่มีชื่อเสียงทุกคืน
2.งานแสดงช้าง กำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 20 และวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2547 ณ สนามแสดงช้าง
3.การประกวดโตะอาหารช้างกำหนดจัดในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 ณ อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง
4.งานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง กำหนดจัดในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2547 เวลา 09.00 น. ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง
5.การแข่งขันจักรยานเสือภูเขา ครั้งที่ 3 กำหนดจัดในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 เวลา 15.00 น. ณ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์

6.การวิ่งราชมงคลเมืองช้างมินิฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่ 4 กำหนดจัดในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2547 เวลา 05.30 น. ณ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์

7.การแสดงประกอบแสง - เสียง ครั้งที่ 4 เรื่อง สงครามช้างเผือก กำหนดจัดในระหว่างวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2547 ณ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์

8.การแข่งขันแรลลี่ช้าง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 เป็นการนั่งช้างแรลลี่ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จากสนามแสดงช้าง ไปตามเส้นทางจนถึงสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์

การเดินทาง
เครื่องบิน : จังหวัดสุรินทร์ได้ทำการเปิดสายการบินเที่ยวแรก เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2545 โดยสายการบินแอร์อันดามัน ปัจจุบันมีการบิน 4 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพฤหัสบด และวันเสาร์ี
รถยนต์ : ใช้เส้นทางหมายเลข 1(พหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่สละบุรีใช้เส้นทางโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ผ่านอำเภอนางรอง อำเภอปราสาท จากอำเภอปราสาทเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ตรงเข้าสู่จังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทาง 450 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง : จากกรงเทพมีรถโดยสารประจำทาง ออกจากสถานีขนส่งสาุยตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) ทุกวัน ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่งโมง
รถไฟ : จากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน และรถดีเซลราง ระยะทาง 420 กิโลเมตร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.mthai.com

ไม่มีความคิดเห็น: